วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หน้าที่ของคำนามในประโยค

หน้าที่ของคำนามในประโยค


คำนามสามารถทำหน้าที่ต่างๆในประโยคได้ดังนี้


                  ประธาน (Subject), or (Agent) ประธานของประโยคคือบุคคล สถานที่ สิ่งของ ความคิด อาการต่างๆซึ่งเกี่ยวกับประโยคนั้นๆ
                                 
                                  เช่น Tom is right now baking a pie.
                                         (ทอมกำลังอบพายอยู่ตอนนี้)

                                         English grammar is not difficult.
                                        (ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษไม่ยากหรอก)

                                        Chonburi is one of the most beautiful tourist attractions in Thailand.
                                       (ชลบุรีเป็น หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยที่สุดของเมืองไทย)

                                       Taking a bus instead of a personal car helps reduce Greenhouse Gases.
                                       (การขึ้นรถประจำทางแทนรถยนต์ส่วนตัวช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้)

                     กรรมตรง (Direct Object) กรรมตรงคือคำนามที่รับการกระทำจากสกรรมกริยา
 เช่น Tim is baking a piece of cake.
        (ทิมกำลังอบขนมเค้กชิ้นหนึ่ง)

        Susan turns on the light.
       (ซูซานเปิดไฟ)

        She spent too much money on luxurious accessories.
       (เจ้าหล่อนใช้เงินไปกับ เครื่องประดับหรูหรามากเกินไป)

        My uncle gave Mr. Anderson a lot of money.
        (ลุงของฉันให้เงินคุณแอนเดอร์สันเยอะ เลย) 

                    กรรมรอง (Indirect Object) กรรมรองคือคำนาม (ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคล) ซึ่งได้รับการกระทำมาจากกรรมตรง และกรรมรองจะมาก่อนกรรมตรงเสมอ
เช่น My uncle gave Mr. Anderson a lot of money.
       (ลุงของฉันให้เงินแก่คุณแอนเดอร์สันเยอะเลย)

       I bought my dog a ten-kilogram animal feed.
       (ฉันซื้ออาหารสัตว์สิบ กิโลกรัมให้สุนัขของฉัน)

       My friends and I contributed PAVENA Foundation ฿5000.
       (ฉันและเพื่อนๆบริจาคเงิน 5,000 บาทให้กับมูลนิธิปวีณา)

 เพราะฉะนั้น! คำกล่าวที่ว่า “กรรมตรงคือของ กรรมรองคือคน” ยังใช้ได้ แต่ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมดนะ


                     ส่วนเติมเต็มประธาน (Subjective Complement), (Predicate Nominative), or (Predicate Noun) ส่วนเติมเต็มประธานมักจะมาหลังกริยาเชื่อม (Linking Verb) และ ตามหลังประธานของประโยคนั้นๆ เพื่อที่จะบ่งบอกรายละเอียดของประธานนั้นๆ
 เช่น Mr. Andrew is an obstetrician.  
        (คุณแอนดรูว์เป็นสูติแพทย์)
 
        Ms. Sandy becomes a teacher.
       (คุณแซนดี้เป็นครู)

        Miss Judy is so beautiful.
       (นางสาวจูดี้สวยมาก) 

                      หมายเหตุ beautiful ไม่ใช่คำนามแต่นำมาประกอบตัวอย่างเพื่อให้รู้ว่าส่วนเติมเต็มประธาน มีลักษณะอย่างไร ส่วนเติมเต็มกรรม (Object Complement) ส่วนเติมเต็มกรรมจะอยู่หลังกรรมของประโยคบ่งบอกรายละเอียดของกรรมตรง (Direct Object) ที่ไม่สมบูรณ์เท่านั้น
เช่น My teacher appointed Sunai a head of class.
       (คุณครูให้สุนัยเป็นหัวหน้าห้อง)

        American people elected Mr.Obama the new president of United State of America.
       (ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาเลือกโอบามาเป็นประธานาธิบดีคนใหม่)

       Susan chooses him a new boyfriend.
       (ซูซานเลือกเขาให้เป็นแฟนคนใหม่)

                     กรรมของบุพบท (Object of the Preposition) ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นได้ว่าหลังคำบุพบท (Preposition) อาทิเช่น after, before, in, on, at, under, of, about, above, for, near, etc. (et cetara) จะต้องตามด้วยคำนามเสมอ
 เช่น After dinner, I’ll go back home.
       (หลังทานอาหารเย็นเสร็จ ฉันจะกลับบ้าน)
 
        The ugly man in front of the door always tells his funny stories.
       (ผู้ชายน่าเกลียด หน้าประตูมักจะเล่าเรื่องตลกๆของเขาอยู่เสมอ)

                   คำคุณศัพท์ (Adjective) คำนามสามารถเป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนามด้วยกันเองก็ได้
เช่น I will buy a computer desk.
       (ฉันจะซื้อโต๊ะคอม)

        My father is repairing a table fan.
       (พ่อกำลังซ่อมพัดลมตั้งโต๊ะ)

                  คำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) คำนามบางคำ อาทิเช่น home, minute, hour, yesterday, today, tomorrow, here, there, etc. สามารถเป็นคำกริยาวิเศษณ์ขยายคำกริยาได้ด้วย
 เช่น I drive home to visit my parents.
        (ฉันขับรถกลับบ้านไปหาพ่อแม่)
 
         My older sister flies almost a week to get back to Thailand. 
        (พี่สาวของฉันเดินทางโดยเครื่องบินเกือบหนึ่งสัปดาห์เพื่อกลับเมืองไทย)

         I arrived here late yesterday.
        (ฉันมาถึงที่นี่สายเมื่อวานนี้)

                คำข้างเคียง (Appositive) My uncle, Mr. Smith, got a severe car accident yesterday. (ลุงของฉันที่ชื่อสมิทธ์ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างร้ายแรงเมื่อวานนี้) A man standing on the submerged rock is my uncle, Bob. (ผู้ชายที่ยืนอยู่บนหินโสโครกเป็นลุงของฉันเอง ชื่อบ๊อบ)

ไม่มีความคิดเห็น: